ต้นยางนา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dipterocapus
alatus Roxb. ex G.Don
ชื่อวงศ์ Dipterocarpaceae
ชื่อสามัญ Yang
ชื่อทางการค้า Yang , Gurjan , Garjan
ชื่อพื้นเมือง ยางนา , ยางขาว , ยางหยวก , ยางแม่น้ำ , (ทั่วไป) ; กาตีล (เขมร, ปราจันบุรี); ยางนา (เลย)
ชื่อสามัญ Yang
ชื่อทางการค้า Yang , Gurjan , Garjan
ชื่อพื้นเมือง ยางนา , ยางขาว , ยางหยวก , ยางแม่น้ำ , (ทั่วไป) ; กาตีล (เขมร, ปราจันบุรี); ยางนา (เลย)
ลักษณะทั่วไป
ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 40 - 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาเรียบ สีเทาหรือเทาปนขาว โคนต้นมักเป็นพูสูงขึ้นมาเล็กน้อย ขนาดเส้นรอบวงเพียงอกของต้นที่มีอายุมาก ระหว่าง 4 - 7 เมตร หรือมากกว่า ยอดและกิ่งอ่อนมีขนทั่วไป และมีรอยแผลใบปรากฏชัดตามกิ่ง รูปทรง (เรือนยอด) เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี รูปรีหรือรูปไข่
ใบอ่อนมีขนสีเทาประปราย ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง มีขนประปราย
ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ
ไม่แตกแขนงตามง่ามใบตอนปลายกิ่งแต่ละช่อมี 3
- 8 ดอก สี ขาวอมชมพู
กลิ่น - ออกดอก ระหว่างเดือน
มีนาคม – พฤษภาคม
ผล
เป็นแบบผลแห้ง ตัวผลกลมหรือหรือรูปไข่ ยาว 2.5
- 3.5 ซม. มีครีบยาว 5 ครีบ ด้านบนมีปีก 2
ปีก ปลายมน มีเส้นตามยาว 3 เส้น ปีกอีก 3
ปีก มีลักษณะสั้นมากคล้ายหูหนู ผลแก่ ระหว่างเดือน พฤษภาคม -
มิถุนายน พบขึ้นในที่ลุ่มต่ำริมห้วย ลำธาร
และตามหุบเขาทั่วทุกภาคของประเทศไทยในระดับความสูงของน้ำทะเลเฉลี่ยคือ 350 เมตรในต่างประเทศพบที่บังคลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามใต้ และมาเลเซีย
การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก
ดิน ชอบดินที่มีอินทรียวัตถุค่อนข้างอุดมสมบูรณ์
ความชื้น ชอบความชื้นปานกลาง
แสง ลูกไม้ยางนาชอบขึ้นบริเวณใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่ ที่มีแสงแดดส่องถึง (แดดรำไร) เมื่อพ้นระยะลูกไม้ ( หลังยางนาอายุ 1 ปี) ต้องการ แสงแดดเต็มวัน จึงควรทยอยเปิดร่มเงาออก
ดิน ชอบดินที่มีอินทรียวัตถุค่อนข้างอุดมสมบูรณ์
ความชื้น ชอบความชื้นปานกลาง
แสง ลูกไม้ยางนาชอบขึ้นบริเวณใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่ ที่มีแสงแดดส่องถึง (แดดรำไร) เมื่อพ้นระยะลูกไม้ ( หลังยางนาอายุ 1 ปี) ต้องการ แสงแดดเต็มวัน จึงควรทยอยเปิดร่มเงาออก
การปลูกดูแลบำรุงรักษา
การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก ก่อนนำเมล็ดไปเพาะควรนำเมล็ดมาตัดปีกออกก่อนวัสดุที่ใช้เพาะเมล็ดไม้
ปกตินิยมใช้ทรายท้องน้ำคั่วหรือราดยาฆ่าเชื้อราก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้ราทำลายกล้าไม้ที่จะงอกใหม่ๆได้วางเรียงเมล็ดไม้ที่ตัดปีกออกแล้วให้ส่วนที่เป็นปลายรากหงายขึ้นมา(ส่วนที่เป็นรอยต่อของเมล็ดกับปีก) กดเมล็ดให้จมลงในทรายให้ระดับปลายรากอยู่ในระดับผิวทรายแล้วโรยทับด้วย
ขลุยมะพร้าวบางๆรดน้ำทุกวันเช้า-เย็นให้ความชุ่มชื่นนี้พอเพียงเมล็ดใหม่จะงอกหลังจากเพาะแล้ว4-5วันจากนั้นจึงทำการย้ายเมล็ดที่งอกลงใน
ถุงเพาะชำต่อไป
การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก ก่อนนำเมล็ดไปเพาะควรนำเมล็ดมาตัดปีกออกก่อนวัสดุที่ใช้เพาะเมล็ดไม้
ปกตินิยมใช้ทรายท้องน้ำคั่วหรือราดยาฆ่าเชื้อราก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้ราทำลายกล้าไม้ที่จะงอกใหม่ๆได้วางเรียงเมล็ดไม้ที่ตัดปีกออกแล้วให้ส่วนที่เป็นปลายรากหงายขึ้นมา(ส่วนที่เป็นรอยต่อของเมล็ดกับปีก) กดเมล็ดให้จมลงในทรายให้ระดับปลายรากอยู่ในระดับผิวทรายแล้วโรยทับด้วย
ขลุยมะพร้าวบางๆรดน้ำทุกวันเช้า-เย็นให้ความชุ่มชื่นนี้พอเพียงเมล็ดใหม่จะงอกหลังจากเพาะแล้ว4-5วันจากนั้นจึงทำการย้ายเมล็ดที่งอกลงใน
ถุงเพาะชำต่อไป
วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม
ควรทำในช่วงฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายนระยะปลูกที่เหมาะสมควรใช้ ระยะห่าง4x4เมตรอัตราการรอดตายสูงมากและเจริญเติบโตได้ดีหลุมปลูกควรมีขนาด30x30x30ซม.ก้นหลุมควรมีผิดดินที่ร่วนซุยหรืออาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์
รองก้นหลุมเมื่อปลูกแล้วควรกลบหลุมให้ระดับผิวดินอย่าให้น้ำขัง
โรคและแมลง
โรคพืชที่พบในไม้วงศ์ยางได้แก่เชื้อจุรินทรีย์ที่ให้โทษได้แก่-ระยะที่เป็นเมล็ดได้แก่เชื้อราที่ทำให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น
(มีประมาณ50ชนิด) ระยะที่เป็นกล้าไม้ได้แก่โรคเน่าคอดิน
แมลงศัตรูพืชได้แก่แมลงเจาะเมล็ดไม้ได้แก่ด้วงงวงเจาะเมล็ด
แมลงกินใบได้แก่พวกหนอนไหมป่า,หนอนบุ้ง,ด้วงค่อมทอง
แมลงกินใบได้แก่พวกหนอนไหมป่า,หนอนบุ้ง,ด้วงค่อมทอง
แมลงเจาะเปลือกได้แก่ด้วงงวงเจาะเปลือก
แมลงเจาะลำต้นได้แก่ด้วยหนวดยาวเจาะลำต้น
อัตราการเจริญเติบโต ยางนาเป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้าโดยไม้ที่มีอายุประมาณ 14 ปี มีความโตทางเส้นรอบวงเฉลี่ยถึง 82.84 ซม. มีปริมาตร 3.83 ลบ.ม./ไร่ (7 ตัน / ไร่)
การเก็บรักษา
แมลงเจาะลำต้นได้แก่ด้วยหนวดยาวเจาะลำต้น
อัตราการเจริญเติบโต ยางนาเป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้าโดยไม้ที่มีอายุประมาณ 14 ปี มีความโตทางเส้นรอบวงเฉลี่ยถึง 82.84 ซม. มีปริมาตร 3.83 ลบ.ม./ไร่ (7 ตัน / ไร่)
การเก็บรักษา
ไม้ยางนาถ้านำไปอาบน้ำยาสามารถทนทานต่อการทำลายของปลวกและเชื้อราได้ดี
จึงทำให้มีอายุการใช้งานนาน (มากกว่า 10 ปีขึ้นไป)
การแปรรูป
เนื่องจากเนื้อไม้มีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเทา
เสี้ยนตรงเนื้อไม้หยาบ แข็งปานกลาง เลื่อยไสกบตกแต่งให้เรียบได้ง่าย
จึงนิยามนำมาเลื่อยทำ ฝาบ้าน ทำไม้คร่าว ไม้ระแนง โครงหลังคา ทำพื้น เพดาน รอด ตง
และ เครื่องเรือนต่าง ๆ การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้
ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ใช้ทำเรือขุด เรือขนาดย่อม เครื่องเรือน ใช้ทำพื้น
ฝาเพดาน รอด ตง เป็นไม้หมอนรองรางรถไฟ ฯลฯ การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์
ควบคุมอุณหภูมิในอากาศ ให้ร่มเงา กำบังลม ให้ความชุ่มชื้น
ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ฯลฯ การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์
ปลูกสองฝั่งถนน เพื่อความสวยงาม การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ
ไม่พบประโยชน์ทางตรง แต่พบว่าเป็นตัวเอื้อประโยชน์ในการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดราไมคอร์ไรซ่าทั้งในป่าดิบแล้ง
ป่าดิบชื้น ซึ่งเรียกว่า เห็ดยาง ซึ่งนำไปเป็นอาหารได้
การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร ต้น สรรพคุณ มีน้ำมันยาง
“ ไม้ยางนาในประเทศไทยได้ถูกตัดไปใช้สอยและทำเป็นสินค้ากันเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี
เป็นที่น่าวิตกว่าหากมิได้ทำการบำรุงส่งเสริมและดำเนินการปลูกไม้ยางนาขึ้นแล้ว
ปริมาณยางนาก็จะลดน้อยลงไปทุกที
จึงควรจะได้มีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนาเพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติ
”
ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) เป็นเสมือนพยาไม้แห่งเอเชียอาคเนย์ เพราะมีขนาดสูงใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียอาจมีความสูงถึง ๕๐ เมตรและมีเส้นรอบวงที่ระดับอกถึง ๗ เมตร ในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไป ซึ่งยืนยันได้จากชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอที่มีคำว่า “ ยาง ” อยู่ในทุกภาคของประเทศ เช่น อำเภอท่ายาง ท่าสองยาง ยางตลาด และยางชุมน้อย เป็นไม้เอนกประสงค์ แทบทุกส่วนสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นแหล่งอาหารป่า แหล่งนันทนาการ น้ำมันยาก สมุนไพร และเนื้อไม้สำหรับใช้สอยทั่วไป จนพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้ให้ความสำคัญของไม้ยางเท่าเทียมกับไม้สัก ด้วยการกำหนดว่าทั้ง “ ไม้สักและไม้ยางนาทั่วไปในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะขึ้นอยู่กับที่ใด (รวมทั้งในเอกชน) เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. (ไม้หวงธรรมดา) ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ” แม้ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ประเทศไทยก็ยังต้องนำเข้าไม้ยางถึง ๑๔๑,๘๒๔ ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นมูลค่า ๑,๐๔๕ ล้านบาท
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ในการเสด็จพระราชดำเนินทางรถยนต์ไปแปรพระราชฐาน ณ พระที่นั่งไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ่านป่ายางนาสูงใหญ่สองข้างทางถนนเพชรเกษม ช่วงหลักกิโลเมตรที่ ๑๗๖-๑๗๙ ท้องที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ สำนักพระราชวังไปเก็บเมล็ดยางนาเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๐๔ ให้เจ้าหน้านำไปเพาะเลี้ยงกล้าไว้ใต้ร่มต้นแคบ้านในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐานส่วนหนึ่งและได้ทรงเพาะเมล็ดไม้ยางนาโดยพระองค์เองไว้บนดาดฟ้าพระตำหนักเปี่ยมสุข ในพระราชวังไกลกังวล หัวหิน อีกส่วนหนึ่ง
จากนั้นได้ทรงปลูกกล้าไม้ยางนาอายุ ๔ เดือน ในบริเวณสวนจิดลดาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร คณาจารย์ และนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๔ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณจำนวน ๑,๐๙๖ ต้น โดยมีระยะปลูก ๒.๕๐ x ๒.๕๐ เมตร เนื้อที่ประมาณ ๔ ไร่ ๑ งาน ซึ่งถือเป็นสวนป่ายางนาที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมกับทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะวนศาสตร์และโครงการส่วนพระองค์ส่วนจิตรดา ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนาในบริเวณสวนจิตรลดา โดยมีศาสตราจารย์ เทียม คมกฤส คณบดีคณะวนศาสตร์ในขณะนั้นเป็นหัวหน้าโครงการ
งานวิจัยในครั้งนั้นมี ๓ สิ่งทดลองหลัก คือ
ปุ๋ย (ไม่ใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ๒๐ ก./ไร่ และใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ๔๐ ก./ไร่)
ให้ร่มด้วยไม้ระแนง (ไม่ให้ร่ม ให้ร่ม ๕๐ % และให้ร่ม ๗๕ % )
ปลูกพืชควบ (ปลูกยางนาควบกับแคบ้าน กล้วย และอ้อย)
และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้คณาจารย์และนิสิตคณะวนศาสตร์ เข้าไปดูแลรักษาและเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเข้าไปปลูกต้นไม้ในวันปลูกต้นไม้ประจำปีแห่งชาติเป็นประจำทุกปี ตราบเท่าทุกวันนี้
ในส่วนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือว่างานวิจัยไม้ยางนาในสวนจิตรลดามีจุดเด่น 3 ประการคือ
๑.เป็นงานวิจัยด้านวนวัฒนวิทยาเพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๒.แปลงทดลองและงานทดลองภาคสนามอยู่ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
๓.เป็นต้นแบบของการวิจัยและการปลูกป่าตามระบบวนเกษตรซึ่งมีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา
ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) เป็นเสมือนพยาไม้แห่งเอเชียอาคเนย์ เพราะมีขนาดสูงใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียอาจมีความสูงถึง ๕๐ เมตรและมีเส้นรอบวงที่ระดับอกถึง ๗ เมตร ในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไป ซึ่งยืนยันได้จากชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอที่มีคำว่า “ ยาง ” อยู่ในทุกภาคของประเทศ เช่น อำเภอท่ายาง ท่าสองยาง ยางตลาด และยางชุมน้อย เป็นไม้เอนกประสงค์ แทบทุกส่วนสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นแหล่งอาหารป่า แหล่งนันทนาการ น้ำมันยาก สมุนไพร และเนื้อไม้สำหรับใช้สอยทั่วไป จนพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้ให้ความสำคัญของไม้ยางเท่าเทียมกับไม้สัก ด้วยการกำหนดว่าทั้ง “ ไม้สักและไม้ยางนาทั่วไปในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะขึ้นอยู่กับที่ใด (รวมทั้งในเอกชน) เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. (ไม้หวงธรรมดา) ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ” แม้ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ประเทศไทยก็ยังต้องนำเข้าไม้ยางถึง ๑๔๑,๘๒๔ ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นมูลค่า ๑,๐๔๕ ล้านบาท
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ในการเสด็จพระราชดำเนินทางรถยนต์ไปแปรพระราชฐาน ณ พระที่นั่งไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ่านป่ายางนาสูงใหญ่สองข้างทางถนนเพชรเกษม ช่วงหลักกิโลเมตรที่ ๑๗๖-๑๗๙ ท้องที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ สำนักพระราชวังไปเก็บเมล็ดยางนาเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๐๔ ให้เจ้าหน้านำไปเพาะเลี้ยงกล้าไว้ใต้ร่มต้นแคบ้านในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐานส่วนหนึ่งและได้ทรงเพาะเมล็ดไม้ยางนาโดยพระองค์เองไว้บนดาดฟ้าพระตำหนักเปี่ยมสุข ในพระราชวังไกลกังวล หัวหิน อีกส่วนหนึ่ง
จากนั้นได้ทรงปลูกกล้าไม้ยางนาอายุ ๔ เดือน ในบริเวณสวนจิดลดาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร คณาจารย์ และนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๔ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณจำนวน ๑,๐๙๖ ต้น โดยมีระยะปลูก ๒.๕๐ x ๒.๕๐ เมตร เนื้อที่ประมาณ ๔ ไร่ ๑ งาน ซึ่งถือเป็นสวนป่ายางนาที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมกับทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะวนศาสตร์และโครงการส่วนพระองค์ส่วนจิตรดา ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนาในบริเวณสวนจิตรลดา โดยมีศาสตราจารย์ เทียม คมกฤส คณบดีคณะวนศาสตร์ในขณะนั้นเป็นหัวหน้าโครงการ
งานวิจัยในครั้งนั้นมี ๓ สิ่งทดลองหลัก คือ
ปุ๋ย (ไม่ใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ๒๐ ก./ไร่ และใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ๔๐ ก./ไร่)
ให้ร่มด้วยไม้ระแนง (ไม่ให้ร่ม ให้ร่ม ๕๐ % และให้ร่ม ๗๕ % )
ปลูกพืชควบ (ปลูกยางนาควบกับแคบ้าน กล้วย และอ้อย)
และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้คณาจารย์และนิสิตคณะวนศาสตร์ เข้าไปดูแลรักษาและเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเข้าไปปลูกต้นไม้ในวันปลูกต้นไม้ประจำปีแห่งชาติเป็นประจำทุกปี ตราบเท่าทุกวันนี้
ในส่วนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือว่างานวิจัยไม้ยางนาในสวนจิตรลดามีจุดเด่น 3 ประการคือ
๑.เป็นงานวิจัยด้านวนวัฒนวิทยาเพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๒.แปลงทดลองและงานทดลองภาคสนามอยู่ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
๓.เป็นต้นแบบของการวิจัยและการปลูกป่าตามระบบวนเกษตรซึ่งมีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา
ขอขอบคุณข้อมูลที่ดีจาก
http://office.csc.ku.ac.th/woodland/index.phphttp
www.nanagarden.comhttp
www.takuyak.com/private_folder/bantai_go_thhttp
www.takuyak.com/private_folderhttps
www.youtube.com/watch?v=6xP8Gxj9LqQ#t=217https
www.youtube.com/watch?v=buXxA2qWT6E
www.nanagarden.comhttp
www.takuyak.com/private_folder/bantai_go_thhttp
www.takuyak.com/private_folderhttps
www.youtube.com/watch?v=6xP8Gxj9LqQ#t=217https
www.youtube.com/watch?v=buXxA2qWT6E
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น